Latest News

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ดูไว้นะ! ถ้าเปิด “แอร์” นอนหลับ แล้วลืมทำสิ่งนี้ก่อนนอน อันตรายถึงชีวิต เจ็บหนักมาหลายรายแล้ว แชร์เตือนภัยด่วน!!

loading...


ถ้าอากาศในเมืองไทยจะร้อนจนพัดลมธรรมดาๆ ก็เอาไม่อยู่ขนาดนี้ การได้แอร์ปรับอากาศมาช่วย ในวันที่อากาศจะทำเราเป็นลม บ้านหรือห้องของเราก็จะกลายเป็นสวรรค์น้อยๆ ที่ทำให้เรากลายเป็นคนอยู่ติดบ้าน รักบ้านขึ้นมาทันที แต่เคยสงสัยไหมคะว่า นอกจากจะเปลืองไฟแล้ว การเปิดแอร์ปรับอากาศทั้งวันทั้งคืนแบบนี้ จะมีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้างหรือเปล่า

เมื่อไม่นานมานี้ที่ China มีหลายกรณีปรากฏให้เห็นอาทิเช่น กลับถึงบ้านเหงื่อไหลทั้งตัวแต่กลับพุ่งเข้าไปเปิดแอร์ทันที ส่งผลทำให้อุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน เส้นประสาทบนใบหน้าก็เกิดการเกร็งหดตัว วิงเวียนศีรษะ มีน้ำลายไหลออกมาจากปาก ตากลอกไปมาผิดปกติ และอาการน่ากลัวอื่นๆ ตามมา และที่รุนแรงกว่านั้นก็คือ หากการติดตั้งท่อแอร์มีปัญหา น้ำยาแอร์ที่เป็นสารทำความเย็นเกิดการซึมรั่วไหลและระเหยเข้ามาในห้อง ก็จะทำให้เกิดก๊าซพิษที่เมื่อสูดดมเข้าไปนานๆ ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดูแล้วช่างน่ากลัวจริงใช่มั้ย? ความจริงเพียงเราใส่ใจรายละเอียดตามด้านล่างซักนิด ฤดูร้อนแบบนี้ก็จะสามารถใช้แอร์ได้อย่างปลอดภัยแล้วล่ะ
1.หลังเหงื่อออกมาใหม่ๆ ไม่ควรรีบเปิดแอร์ทันที
ถ้าสภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงอาทิเช่น เหงื่อออกมากๆ ดื่มสุรา หรือกำลังสระผมเสร็จหมาดๆ ในช่วงนี้รูขุมขนตามร่างกายกำลังเปิด ยังอาจจะยังไม่ทันได้ปิดสนิทดี ดังนั้นถ้ารีบเปิดแอร์ก็จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายเกิดการปรับตัวอย่างรวดเร็ว หากมีความต่างของอุณหภูมิมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงอย่างความผิดปกติของระบบประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Facial paralysis), ไข้หวัด ฯลฯ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ที่มีร่างกายอ่อนแอ ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

2.ช่องลมของเครื่องปรับอากาศควรหันขึ้นด้านบน
เพื่อให้ได้รับความเย็นจากแอร์คนส่วนใหญ่มักจะปรับช่องลมหันลงด้านล่าง ซึ่งจริงๆ แล้วการหันช่องลมของแอร์ขึ้นด้านบนเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ลมเย็นจัดจากแอร์พัดโดนสู่ร่างกายโดยตรง ตัวอย่างเช่น ถ้าตำแหน่งที่คุณนั่งหรือนอนอยู่ตรงพอดีกับช่องลมของเครื่องปรับอากาศ ลมที่พัดออกมาก็ส่งผลร้ายต่อร่ายกายบริเวณช่วงเอวและหลัง ดังนั้นหากไม่สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งได้ ควรต้องเตรียมผ้าพันคอหรือเสื้อกันหนาวแบบบางมาไว้สวมใส่ด้วย เพื่อจะได้ช่วยปกป้องเส้นประสาทบริเวณต้นคอ ข้อเข่า รวมไปถึงอวัยวะส่วนต่างๆ และควรหาเวลาลุกเดินไปมาให้ร่างกายได้ขยับเขยื่อนด้วย
loading...
3.อุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศไม่ควรต่ำเกินไป
แนะนำว่าการกำหนดอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศควรอยู่ที่ประมาณ 25-26 องศา หากร่างกายค่อนข้างอ่อนแอควรปรับให้อยู่ที่ประมาณ 27-28 องศา เพื่อไม่ให้อุณหภูมิภายในห้องกับภายนอกแตกต่างกันมากเกิน 8 องศา เพราะถ้าเกินจากนี้จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปากแห้งคอแห้ง ไอจาม และมีน้ำมูกไหล เป็นต้น บางครั้งอาจส่งผลให้เกิดภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือหลอดเลือดแตก (Stroke) ได้!
แล้วเด็กทารกล่ะเหมาะสมที่จะนอนในห้องแอร์หรือไม่? ตามความเป็นจริงเด็กทารกจะมีระบบการเผาผลาญ (Metabolism) ที่ดีกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้ไม่ชอบอากาศร้อน ดังนั้นเมื่อเด็กอยู่ใน้บ้านจึงจำเป็นต้องปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม โดยควรจะอยู่ที่ 26 องศาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการผดผื่นคันจากความร้อน (Prickly heat) และยังช่วยให้เด็กมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นอีกด้วย

4.การไม่เปิดแอร์ตลอดทั้งคืนจะดีต่อร่างกายที่สุด
ช่วงกลางคืนในฤดูร้อนอากาศมักจะร้อนอบอ้าว คนส่วนใหญ่จึงชอบการเปิดแอร์นอนหลับตลอดทั้งคืน ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการแบบนี้ไม่ดีต่อร่างกาย โดยที่ถูกต้องควรเปิดแอร์หลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จแล้วก่อนจะนอนจึงค่อยปิดแอร์ หรือตั้งโหมดนอนหลับแล้วใช้พัดลมเข้ามาช่วย หรือตั้งโหมดกำหนดเวลาปิดแอร์อัตโนมัติ

5.ทุกๆ 1 ชั่วโมงควรเปิดหน้าต่างให้มีลมถ่ายเท เพื่อดูแลระบบทางเดินหายใจ
เนื่องจากเมื่อเปิดแอร์แล้วอากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้ง่ายต่ออาการคัดจมูก จาม และอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ดังนั้นควรทำให้ลมถ่ายเทสะดวกอยู่เสมอๆ ด้วยการเปิดหน้าต่างครั้งละ 15 นาทีในทุกๆ 1 ชั่วโมง และถ้าหากคุณต้องอาศัยอยู่ในห้องแอร์บ่อยๆ ก็ควรป้องกันไม่ให้ผิวหนังแห้ง หรือเกิดอาการคอแห้ง ไอ และคันคอ ด้วยการดื่มน่ำเยอะ ดื่มชาเก๊กฮวย และรับประทานผลไม้สดที่มีวิตามินซีสูง

ทุกอย่างมีประโยชน์ หากใช้ให้ถูกวิธีนะคะ นอกจากแอร์ปรับอากาศแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยคลายร้อนระหว่างวันได้ง่ายๆ เช่น การอาบน้ำ หรือการดื่มอะไรเย็นๆ เช่น น้ำสมุนไพรไทยๆ แต่หากอากาศร้อนหนักๆ จริงๆ อาจจะต้องดูที่โครงสร้างของบ้านแล้วล่ะค่ะ ว่ามีส่วนใดที่ต้องแก้ไข เพื่อให้อากาศระบายถ่ายเทเอาความร้อนออกไปได้บ้าง เช่น บุฉนวนกันความร้อนที่หลังคา หรือการปรับตำแหน่งประตูห้อง เป็นต้น

ที่แท้การใช้แอร์ก็จำเป็นต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ด้วย ทราบกันแล้วก็ต้องจำไว้ให้ดีๆ และอย่าลืมว่าเปิดแอร์ไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งที่พวกเราต้องปฏิบัติน้า
loading...
ที่มา:http://khaosolonews.blogspot.com/2017/08/blog-post_60.html?m=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Post